" ความฉลาดทางด้านนี้ต้องไปไกลกว่าความรู้

คือไปถึงความเข้าใจ "















PROBLEM–BASED LEARNING : PBL

“PBL โดยจิตศึกษา”

การเป็นเจ้าของการเรียนรู้

ตั้งเป้าหมายของตัวเองได้ แสวงหาการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้

นำการเรียนรู้ไปใช้สำหรับชีวิตตัวเองได้

ควรนับเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กควรได้สิทธิ์นั้น


ไม่ใช่เริ่มที่อำนาจ

ศิโรราบต่อความรู้และความไม่รู้

ศิโรราบต่อตนและต่อศิษย์

ศิโรราบ ต่อธรรมชาติ

ต่อเหตุปัจจัยและต่อผล

ครูผู้ศิโรราบย่อมโน้มน้อมให้ศิษย์เป็นผู้ศิโรราบ

เมื่อทุกคนกลายการเป็นผู้ศิโรราบ

การเป็นครูที่แท้ของกันและกันก็เกิดขึ้น

การเป็นศิษย์ของกันและกันก็เกิดขึ้น

แล้วการเรียนรู้ของแต่ละคนก็เต็มเปี่ยม


“หน่วยบูรณาการที่ใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้หรือ PBL (Problem Based Learning)” เสมือนเป็นกล้องที่เอาไว้ส่องให้เห็นโดยรอบ เป็นนวัตกรรมที่เป็น Active Learning ที่จะทําให้ผู้เรียนไปถึงปัญญาภายนอกได้ อาทิเช่น Reading comprehension, Writing, Arithmetic ICT skills, Thinking-skills, Life & Career skills, Collaboration skill and Core subject

“PBL โดยจิตศึกษา”

เราเรียนรู้ได้ดีจากปัญหา

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยีทําให้ข้อมูลที่รายล้อมเราอยู่เกิดขึ้นมามากมายจนยากแก่การจัดการ คนรุ่นใหม่ๆ ก็จะดํารงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขยากขึ้นถ้าไม่มีการสร้างทักษะใหม่ๆ ที่จําเป็นสําหรับโลกยุคใหม่เพิ่มขึ้น คนที่ดํารงอยู่ได้เมื่อห้าพันปีก่อนนั้นอาจต้องการแค่ทักษะการซัดหอกแม่นยํา เพื่อจัดการกับความหิว แต่ทุกวันนี้คนไม่จําเป็นที่จะต้องมีทักษะการซัดหอกแล้ว แต่กลับจําเป็นต้องมีความรู้ชุดหนึ่ง และทักษะการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น ทักษะจัดการกับข้อมูลทักษะการดูแลสุขภาพ ทักษะ ICT รวมกับทักษะอีกมากมายเพื่อจัดการกับเรื่องเดิม คือ ความหิว

จะเห็นว่าเมื่อเวลาเปลี่ยนไปความรู้ชุดเดิมหรือทักษะเดิมๆจะไม่เพียงพอกับการดําเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ ความรู้ชุดหนึ่งและทักษะที่เพิ่มพูนมาทั้งหมดนั้น ต้องการเครื่องมือที่จําเป็นมากคือ“การเรียนรู้” และการเรียนรู้จะเกิดภายในของแต่ละบุคคลหมายความว่าแม้จะมีองค์ประกอบภายนอกสมบูรณ์เพียงใด ก็อาจจะไม่ทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เลยก็ได้

การสร้างการใฝ่รู้หรือแรงบันดาลใจให้กับเด็กเพื่อให้เขาตระหนักว่าสิ่งนั้นจําเป็น สําคัญ หรือเกี่ยวข้องกับชีวิตเขา จะเป็นจุดสําคัญต่อการเรียนรู้เหมือนกับการพยายามจุดชนวนระเบิด แม้จะต้องใช้ความพยายามมากเพียงใดก็ต้องทํา ถ้าเราต้องการทําให้มันระเบิด และเราก็สามารถสร้างการใฝ่รู้หรือสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กทุกๆ คนได้ แม้ว่าพื้นฐานของเด็กอาจมีไม่เท่ากัน ด้วยการตั้งคําถามอันแยบยลของครูบวกกับการแสดงท่าทีของครูที่ไม่คุกคามเด็กๆ ด้วยการคอยตัดสินว่าถูก ผิด การคาดคั้น การรีบเร่งต่อคําตอบหรือแม้กระทั่งการผลีผลามโต้ตอบ

ครูผู้มีวุฒิภาวะจะเข้าใจได้ว่าเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิด แม้ว่าต้องการน้ําเพียงปัจจัยเดียวในการงอก ทว่าแต่ละเมล็ดก็ต้องการเวลาในการงอกหรือเวลาในการแตกใบแต่ละใบไม่เท่ากัน

วุฒิภาวะจะทําให้ครูมีความชัดเจนที่จะรู้ได้ด้วยตัวเองว่าอะไรควรหรือไม่ควร อะไรใช่หรือไม่ใช่ และรู้ได้ด้วยตัวเองว่าจะต้องทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นอย่างไร

ในสภาพที่โลกและสภาพของสังคมแปรเปลี่ยนรุนแรงขึ้นทุกขณะ เราจะมองไม่เห็นบุคคลใดที่ไม่ประสบปัญหาใดๆ เลย ทุกๆปัญหาก็ล้วนต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจชุดใหม่ และทักษะใหม่ๆมากขึ้น แต่ที่สําคัญกว่านั้นคือ เรามีมุมมองต่อปัญหาอย่างไรเรามองปัญหาเป็นปัญหา และติดอยู่กับมันเหมือนกับการวิ่งชนหน้าผา หรือว่ามองปัญหาเหล่านั้นให้เป็นเรื่องท้าทายเหมือนกับคนปีนหน้าผา

“ถ้าก้อนความเชื่อใหญ่ในตัวเราเปิดรับ

และเรียนรู้ให้เท่าทันสภาพภายนอกอยู่เสมอ

แล้วเราจะมองปัญหานั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายพร้อมที่จะแก้ปัญหา

และเรียนรู้กับปัญหานั้นอย่างมีความสุข

มองเห็นว่าทุกปัญหาที่ผ่านเข้ามาคือหนึ่งการเรียนรู้

ซึ่งอันที่จริงการแก้ปัญหาเป็นเจตจํานงหนึ่งของการมีชีวิตอยู่

ถ้าวันหนึ่งเราตื่นขึ้นมาแล้วไม่มีปัญหา

ตอนนั้นเราจะไม่มีงานสําหรับชีวิตที่ต้องทํา”

การสอนวิธีนี้ค่อนข้างท้าทายมาก เป็นขบถคิด เพราะใครจะเชื่อว่าการศึกษาจากนี้ต่อไปจะต้องเน้นทักษะซึ่งไม่เหมือนเดิม เพราะโลกที่แปรเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ปีหน้าจะมีเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จํานวนถึงล้านคน จะต้องใช้แท็บเล็ตตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อเป็นอุปกรณ์ประจําตัวอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ ครูเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ไม่ได้ กระแสของการใช้ ICT ได้ไหลแรงขึ้น ครูต่างหากที่มีทักษะไม่เท่าทันที่จะอํานวยการให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากเครื่องมือเล็กๆ นี้ เป็นเรื่องท้าทายมากเพราะนี่คือปัญหาใหม่ กระบวนการ Problem Based Learning จึงเป็นสิ่งที่จําเป็นที่สุดในโรงเรียน นี่คือรูปแบบของการเรียนรู้ที่จะพัฒนาทักษะใหม่ ซึ่งจําเป็นในอนาคต เป็นขบถความคิดที่จะทําให้เราทลายกรอบเดิมสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนไปจากเดิม ครูหลายคนบอกว่า “เหลือเชื่อไม่อยากเชื่อ หรือยังเชื่อการสอนแบบเดิมอยู่” แต่ถึงนาทีนี้ เราต้องค่อยๆ ทําใจยอมรับ มิฉะนั้นครูจะให้บางสิ่งบางอย่างแก่เด็กที่ไม่เท่าทันกับโลกที่มันแปรเปลี่ยนไป

แนะนำหนังสือ

โรงเรียนนอกกะลา

ภาคปาฏิหาริย์

     ดูรายละเอียดเพิ่มเติม     

วุฒิภาวะ

ของความเป็นครู

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม     

จิตศึกษา

พัฒนาปัญญาภายใน

      ดูรายละเอียดเพิ่มเติม    

แผนการจัดกิจกรรม

จิตศึกษาพัฒนาปัญญาภายใน 

       ดูรายละเอียดเพิ่มเติม