วิถี เป็นการกระทําซ้ําที่จะช่วยในการบ่มเพาะ

ทั้งความมีวินัย และความรับผิดชอบต่อหน้าที่


การปฏิบัติในวิถีโรงเรียนที่ทําอย่างมีความหมาย  มีเหตุผล   และคงเส้นคงวา

จะนํามาซึ่งความมีวินัยของเด็กและครู ทั้งยังช่วยให้คนที่ประกอบในชุมชนได้

คลายความกังวลลงอันเนื่องมาจากไม่ต้องเสียเวลากับการลังเลที่จะตัดสินใจ

ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ



นอกจากสภาพแวดล้อมในชุมชน (ในที่นี้หมายถึงโรงเรียน) แล้วการที่มีเจ้าหน้าที่หรือครูที่เป็นกัลยาณมิตรที่คอยเกื้อหนุนให้การเรียนรู้ที่มาจากภายใน และให้ความรักความเมตตาเสมอ   ก็มีความสําคัญยิ่งต่อความมั่นคงทางจิตใจของเด็ก ความรู้สึกปลอดภัย ไม่ถูกคุกคามจะกระตุ้นการเรียนรู้และแรงจูงใจเชิงบวกได้อย่างดีสัมพันธภาพของคนในชุมชนส่งผลต่อบรรยากาศทั้งหมดภายในชุมชน เห็นได้ชัดว่าบางครั้งถึงแม้จะมีเพียงไม่กี่คนที่อยู่ในองค์กรทะเลาะกัน แต่จะส่งผลต่อความรู้สึกของคนทั้งหมดในการสร้างวิถีชุมชน (วัฒนธรรมองค์กร) ที่จะร่วมกันรักษาความสัมพันธ์ของคนในองค์กรนั้นไม่ให้ร้าวฉานซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งจะทําให้กลับมาดีได้ง่าย ผลตอบแทนที่สําคัญนั่นคือความสบายใจของทุกคน วิถีชุมชนที่ดีคือวิถีที่อยู่บนฐานของค่านิยมร่วม และความมีเหตุผลซึ่งจะก่อให้เกิดพลังของความลื่นไหลร่วมกัน ความลื่นไหลไม่ได้หมายถึงการอยู่เฉยโดยไม่มีอะไรทํา การมีสิ่งที่ต้องทํามากมายตลอดทั้งวันก็ทําให้เกิดความลื่นไหลได้ อาการติดขัดหรือความไม่ลื่นไหลอาจดูได้จากอาการขุ่นมัวในจิตตอนสิ้นวันก็ได้ ความลื่นไหลที่แท้จริงจะนําไปสู่จิตที่มีปีติ

ในขณะเดียวกันโรงเรียนต้องตระหนักอยู่เสมอว่าผู้ปกครองทุกคนมีส่วนเกื้อกูลต่อความก้าวหน้าของเด็ก การสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการอย่างหลากหลายจะช่วยให้     

ผู้ปกครองได้มองเห็นความสําคัญต่อการพัฒนาในเชิงจิตวิญญาณ   ซึ่งเป็นนามธรรม   ในที่สุดผู้ปกครองจะเข้ามามากขึ้นพร้อมที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในโรงเรียน

เมื่อผู้ปกครองได้เรียนรู้วิถีชุมชนจากบทเรียนที่เกิดขึ้นในโรงเรียน   ผู้ปกครองก็จะนํากลับไปสู่ชุมชนจริงของตนเอง

 " ปฎิบัติการแห่งรัก "

ระดับชั้นอนุบาลและระดับชั้น ประถม จะให้เด็กได้เล่นร่วมกัน ในสนามเด็กเล่น หรือ

ในสนาม หญ้า เด็กผู้หญิงส่วนใหญ่ก็เล่น กระโดดยาง เด็กผู้ชายบ้างก็เล่น ฟุตบอล

เห็นคุณค่าในตัวเอง แสดงความเคารพต่อสถานที่ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างกัน ปลูกฝังจิตสํานึก ความรับผิดชอบต่อคนอื่น สิ่งอื่น และเพื่อส่วนรวมการทํางานที่มีความหมาย การจดจ่อกับงานที่ทํา

กิจกรรมเริ่มต้นวัน


ทําเพียงระยะเวลาสั้นๆ สงบๆ เพื่อเป็นพิธีกรรมการเริ่มต้นวันที่มีความหมายและเพื่อการแสดงออกถึงการขอบคุณ การนอบน้อม การมีสติ หลังจากกิจกรรมหน้าเสาธงสั้น ๆ นั้นก็ไม่มีครูต้องมาอบรมหน้าเสาธงอย่างขนบของโรงเรียนโดยทั่วไป

กิจกรรม “จิ ต ศึ ก ษา”

ใช้ฐาน “ใจ” เป็นหลัก


กิจกรรมจิตศึกษา เพื่อการเตรียมความพร้อมของนักเรียนให้อยู่ในภาวะคลื่นสมองต่ํา สงบ และผ่อนคลาย ทั้งเพื่อพัฒนาความฉลาดในด้านจิตวิญญาณ และความฉลาดด้านอารมณ์ให้เห็นคุณค่าของสรรพสิ่ง การน้อมนําสิ่งที่ดีงามเข้าไปสู่จิตใต้สํานึก

การเรียนในรายวิชาหลัก

คณิต ไทย อังกฤษ/ภาษาต่างประเทศ

ใช้ฐาน “สมอง” เป็นหลัก


การเรียนในรายวิชาหลัก คณิต ไทย อังกฤษ ปูพื้นฐานทางวิชาการ เพื่อนําความรู้ความเข้าใจในรายวิชาพื้นฐานไปเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในระดับที่สูงขึ้นและสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันได้

กิจกรรมจิตศึกษาด้วยการทํา 

Body scan


เพื่อการผ่อนพัก สงบ ผ่อนคลายได้  เห็นตัวเองทั้งกายและใจได้ฝึกโหมด
รู้ตัว (สติ) จัดกระทําจิตใต้สํานึก (การบรรจุข้อมูลด้านบวก)

เรียนรู้แบบบูรณาการโดย PBL

ใช้ฐาน “กาย” เป็นหลัก


การผสมผสานกันของแต่ละรายวิชา จะทําให้เกิดการเชื่อมโยงของผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายและสอดคล้องกับการใช้จริง เสริมสร้างทักษะที่จําเป็นต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  เช่น การแก้ปัญหา  การสื่อสาร การทํางานเป็นทีม

จิตศึกษาด้วยการจัดกาย-ใจ

เพื่อเก็บบ้าน สถานที่และสื่อ อุปกรณ์ ด้วยความเคารพให้บ้านของเล่น สนาม ได้พักสงบเพิ่มพูนพลังเพื่อวันต่อไป ตระหนักรู้ในตน AAR สิ่งที่เรียนรู้นัดหมาย บางวันอาจเป็นพิธีชา พิธีจัดดอกไม้เพื่อการมีสติอยู่กับปัจจุบัน นอบน้อม เชื่อมโยง การได้ชื่นชมความงามเพื่อการเข้าใจตนเองและเห็นคุณค่าของสรรพสิ่ง

กิจกรรม PLC ของครู

ครูร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุป หรือ เตรียมการสําหรับวันต่อไป


วิถีเป็นการกระทําซ้ําที่จะช่วยในการบ่มเพาะทั้งความมีวินัย และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ซึ่งเป็นเครื่องมือกํากับตนเองจากด้านใน เมื่อกลายเป็นอุปนิสัย จิตของเด็กจะไม่รู้สึกขัดขืน         ในที่สุดโรงเรียนก็ไม่จําเป็นต้องใช้การควบคุมจากภายนอก เช่น  เสียงระฆัง  กฎ ห รือข้อตกลงร่วมกันจะน้อยข้อลงไปเอง  ทั้งนี้ ครูต้องอยู่ร่วมในวิถีอย่างคงเส้นคงวาเช่นกัน การออกแบบวิถีชีวิตในโรงเรียนเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ยังต้องคํานึงถึงธรรมชาติของร่างกายและสมองช่วงเช้าตั้งแต่เด็กมาถึงโรงเรียนจนถึงช่วง “จิตศึกษา” ให้เด็กได้ทํากิจกรรมที่บ่มเพาะความงอกงามด้านในโดยใช้ฐาน “ใจ” เป็นหลัก ช่วงสายเป็นการเรียนรู้ที่ใช้ฐาน“สมอง” เป็นหลัก ช่วงบ่ายให้เด็กได้เรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติคือการใช้ฐาน “กาย” เป็นหลัก

แนะนำหนังสือ

โรงเรียนนอกกะลา

ภาคปาฏิหาริย์

     ดูรายละเอียดเพิ่มเติม     

วุฒิภาวะ

ของความเป็นครู

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม      

วุฒิภาวะ

ของความเป็นครู

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม      

แผนการจัดกิจกรรม

จิตศึกษาพัฒนาปัญญาภายใน 

       ดูรายละเอียดเพิ่มเติม