ประวัติผู้อำนวยการโรงเรียน

''วิเชียร  ไชยบัง'' เกิดวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2511

           เกิดอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม  ปี พ.ศ. 2540 เริ่มเขียนเรื่องสั้นลงในสยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ และ นิตยสารแพรว เรื่อยมาจนปี พ.ศ. 2545 เรื่องที่โดดเด่น เช่น มาร ก่อนโลกาวินาศ ลูกชาย ลมหายใจของกาลเวลา

            ปี พ.ศ. 2545 ลาออกจากราชการเพื่อมาทำงานในโครงการ โรงเรียนตัวอย่างที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิเจมส์ คลาร์ก ประเทศอังกฤษ โดยเลือกพื้นที่ที่จะดำเนินการเปิดเป็นโรงเรียนตัวอย่างที่อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ช่วงปีนั้นจังหวัดบุรีรัมย์มีรายได้ต่อหัวต่ำที่สุดของประเทศไทย

          ความคิดเกี่ยวกับโรงเรียนตัวอย่าง ด้วยช่วงเวลานั้นกระแสการปฏิรูปการศึกษาเริ่มต้นมาแล้วหลายปี และมี พรบ.การศึกษาฉบับแรกไปเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ไม่มีวี่แววที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นมากนัก  การมีโรงเรียนตัวอย่างอาจจะช่วยให้ครูหรือนักการศึกษาได้เห็นการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด มูลนิธิ เจมส์ คลาร์ก จึงสนับสนุนให้เกิดโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาในที่สุด และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 โดยปีแรกมีเพียง 3 ชั้นเรียน ชั้นเรียนละ 1 ห้อง คือ ชั้นอนุบาล 1 ชั้นอนุบาล 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และก็ทำเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โรงเรียนฯ ได้จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

          พ.ศ. 2546 - จนถึงปัจจุบัน ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา Lamplaimat Pattana School หรือที่รู้จักกันในชื่อ "ครูใหญ่โรงเรียนนอกกะลา"

== ประวัติการศึกษา ==

        ปริญญาตรี วิทยาลัยครูมหาสารคาม  2534 (ค.บ./การประถมศึกษา)

         ปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม 2544 (กศ.ม./การวิจัยการศึกษา)

== งานเขียน ==

นิทานสําหรับเด็ก 

       “พระราชาบนดาวสีเขียว”(2548)  

       “เด็กชายกับดวงดาว”(2549)  

       “ปลาดาวบนชายหาด”(2549)  

       “ใคร ๆ ก็ฝันอยากเป็นอย่างนั้น”(2554)  

       “เต่าภูมิใจ”(2556)

       “ไม่มีฟันไม่เห็นเป็นไร”(2558)  

        “กานักกิน(2559) 

        “แมวแต้มห้าจุด”(2559)

       “แมวออฟฟิศ”(2561)  

       “คุณตานักเก็บกวาด”(2561)  

       “ระวังหนูนะ”(2561)  

       “หมอช้างรักษา”(2562)  

       “หมอช้างสร้างสุข”(2562)  

       “หอมนิลอยากมีเพื่อน”(2562)

       “แมวหางกุด”(2564)  

       “เด็กกล่อง”(2564)  

       “แมวขาวแมวดำ”(2564)  

       “ไก่นอกคอก”(2564)  

       “ตุ๊กตานางฟ้าหัวจุก”(2564)  

       “แม่มดขนมหวานกับนางฟ้าฟันผุ”(2564)  

       “นกกระจอก"(2564)  

       “ความรักของมีนวัน”(2564)  

       “นางฟ้าหัวจุกไปโรงเรียน”(2566)  

       “หนูอยากเป็นยักษ์”(2566)  

       "รากงอกออกดอกออกผล”(2566)  

       "วันฝนตก”(2566)  

       “รูปปั้นเทพเจ้า”(2566)  

       “วันธรรมดาวันหนึ่งของมีนวัน”(2567)  

       “ปีศาจขี้เหงา”(2567)  

       “ชีวิตที่ดีกว่าสิงโต”(2567)  

       “นิทานต้องสาป”

งานวิชาการ

        “โรงเรียนนอกกะลา”(2551)

         “ฅนบนต้นไม้”(2552)

         “ปาฏิหาริย์การศึกษา ณ โรงเรียนนอกกะลา”(2554)

         “จิตศึกษา”(2554)

         “วุฒิภาวะของความเป็นครู”(2556)

        “Digital Disruption การศึกษาล้าสมัย  เรียนเล่นๆ ให้เป็นเรื่อง”(2562)

วรรณกรรม

       “จากเช้าวันหนึ่งถึงก่อนโลกาวินาศ”(2549)

         “สายลมกับทุ่งหญ้า”(2551)

         “อธิษฐานสิจ๊ะกับนางฟ้าสีเขียว”(2552)

         “ปลาทอง (รวมทั้งตัวที่ว่ายน้ำแบบหงายท้อง)”(2557) 

         “เมืองแห่งหมอก”(2559)

กวีนิพนธ์

         “ณ ริมธารแห่งกาลภพ”(2557)

         “รักในเอเดน”(2558)

== รางวัล ==

         2008 :  ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

         2011 :  Ashoka Fellowship in 2011

         2012 :  THE  ANOTHER  CLASSROOM : New Heart New World (โลกเปลี่ยนไป เมื่อใจเปลี่ยนแปลง) หนังสือที่รวบรวม “จิตสำนึกใหม่” ของบุคคลต่างๆ ซึ่งเคยผ่านการทำความเข้าใจต่อโลกและการเรียนรู้จิตใจตนเอง เป็นส่วนหนึ่งในการปลุกจิตสำนึกใหม่ของผู้คนให้ตื่นรู้รับปี 2012 อย่างมีสติ เข้าถึงความจริงในการใช้ชีวิตมากขึ้น จากประสบการณ์ของผู้ค้นพบการตื่นรู้ 1ใน 22 คน 

         2012 :  ครูต้นแบบบูรณาการ จาก 40 ปี Nation Channel State of The Nation : คนไทยหัวคิดสร้างสรรค์ ครูใหญ่โรงเรียนนอกกะลา  จาก Nation New Network

         2015 :  ได้รับรางวัล  ศิษย์เก่าเกียรติยศ จาก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

         2016 :  ได้รับรางวัล  บุคคลเกียรติยศ ด้านการศึกษา  จาก มูลนิธิโกมลคีมทอง ประจำปี 2559

         2017 :  ได้รับรางวัล นวัตกรรมการพัฒนารูปแบบการขยายผล โรงเรียนต้นแบบจิตศึกษา ปี 2559- 2560 จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ประเทศไทย)

         2017 :  ได้รับรางวัล  Inspirational Innovator Award 2017  นวัตกรผู้สร้างแรงบันดาลใจ ด้านการศึกษา ประจำปี 2560 จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

         2018 :  ได้รับคัดเลือกเป็น 100 Faces of Thailand’s Innovation Inspirers ร้อยคนไทยหัวใจนวัตกรรม

== รางวัลงานเขียน ==

         1. หนังสือวรรณกรรมเยาวชน “สายลมกับทุ่งหญ้า” ได้รางวัลจากการประกวดหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติในปี 2552 (2009) รางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ดในปี 2554 (2011) และรางวัล 100 เล่มหนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชน 2560 (2017)

         2. หนังสือวรรณกรรมเยาวชน “อธิษฐานสิจ๊ะกับนางฟ้าสีเขียว” ได้รับรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ดในปี 2553 (2010)

         3. หนังสือนิทานเด็ก “แมวแต้มห้าจุด” ได้รางวัลจากการประกวดหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติในปี 2560 (2017)

         4. หนังสือ “บันทึกของชายผู้ถูกกักขังเป็นมนุษย์ฟาร์ม”(2565)   ได้รับรางวัลคุณธรรมอวอร์ด  ปี  2565  (Moral  Awards 2022)  ประเภทสาขาสิ่งพิมพ์  ระดับชมเชย

== ผลงานด้านการขับเคลื่อนการศึกษา==

พ.ศ. 2548-2549     ร่วมกับสถานทูตออสเตรเลียและกระทรวงศึกษาธิการ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กต้นแบบทั่วประเทศ 64 โรงเรียน

พ.ศ. 2548-2550     ร่วมกับองค์กร PLAN Thailand พัฒนาครูศูนย์เด็กเล็กในจังหวัดอุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู และศรีสะเกษ จำนวนกว่า 1,400 คน

พ.ศ. 2550-2553     ร่วมกับบริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด และมูลนิธิหอการค้าไทยอเมริกัน พัฒนาโรงเรียนในเขตอุตสาหกรรมภาคตะวันออก (จังหวัดระยอง และ ชลบุรี)

                              จำนวน 40 โรงเรียนพ.ศ. 2549-2551   ร่วมมือกับเทศบาลเชียงราย พัฒนาโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเชียงราย พ.ศ.2551-2552 ร่วมมือกับ Temasek

                              Foundation, PDA, NIE และ กระทรวง  ศึกษาธิการ ได้ดำเนินการจัดอบรมผู้บริหารและครู โดยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ตามโครงการ The School 

                              Management and Education Leadership Training Programme for Leaders and Teachers in Primary School เพื่อให้ผู้บริหารได้พัฒนา

                             ศักยภาพในการบริหาร จัดการโรงเรียนทั้งระบบและพัฒนาให้เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาครู และการบริหาร

                              จัดการปัจจัยที่ช่วยให้โรงเรียนมีคุณภาพในทุก ๆ ด้าน และ เพื่อให้ครูผู้สอนได้พัฒนาแนวการจัดการเรียนการสอนตามการ จัดการเรียนการสอนแบบโรงเรียน

                               ลำปลายมาศพัฒนา จำนวน 160 โรง จาก 20 เขตพื้นที่การศึกษา

พ.ศ. 2551-2552     ร่วมมือกับ Temasek Foundation และ กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการจัดอบรมผู้บริหารและครู โดยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ตามโครงการ

                               Transformative Education TOT Programme (TEP) จำนวน 11 เขตพื้นที่การศึกษา

พ.ศ. 2553-2557      ร่วมมือกับเทศบาลนครขอนแก่น Khon Kaen City พัฒนาโรงเรียนต้นแบบในสังกัด

พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน  ได้รับเลือกให้เป็น Ashoka Fellow ประจำประเทศไทย พ.ศ.2555 ร่วมKampuchean Action for Primary Education (KAPE) Cambodia หลักสูตร

                               Teaching for Thinking Skills Development, PBL (Problem-based Learning), and Transformative Learning (emphasizing the spiritual 

                               and emotional quotients of education) พัฒนาผู้บริหารและครู ราชอาณาจักรกัมพูชา Cambodia  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา Lamplaimat

                              Pattana School

พ.ศ. 2556-2560    โครงการผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา Leadership for Education Change :  LEC รุ่น 1-3 มีบทบาทเป็น Mentor และคณะทำงาน

                              ให้คำปรึกษา ที่มุ่งเน้นการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่มีกระบวนทัศน์ ทักษะ ภาวะผู้นำ และการทำงานแบบรวมหมู่ (Collective Leadership)  สามารถพัฒนา

                              การศึกษาในระดับโครงสร้างและระบบได้  สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็งของผู้นำการศึกษาจากหลายภาคส่วนของสังคม ในการพัฒนาการศึกษาให้เป็น

                              กลไกหลักของประเทศสู่สังคมสุขภาวะในลักษณะของเครือข่ายพหุภาคี

พ.ศ. 2556-2557    ร่วมมือกับ ศูนย์วิจัยระบบการศึกษา "โครงการเสริมสร้างพลังอำนาจการจัดการศึกษาที่สร้างสุขภาวะในโรงเรียน" พัฒนาโรงเรียนสุขภาวะ (IRES) สนับสนุน

                             โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นผู้รับผิดชอบในการอบรมผู้บริหารและครูให้ใช้นวัตกรรมอย่างโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

                             ได้แก่ จิตศึกษา PBL และ PLC และเป็น Coach ในการออกติดตามโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 70 โรงเรียนทั่วประเทศ

พ.ศ. 2556-2557    ร่วมมือกับมูลนิธิเวปทูไทย Web2Thai Foundation พัฒนาโรงเรียนต้นแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ PBL Problem Based Learning และพัฒนา

                              โรงเรียนต้นแบบลำปลายมาศพัฒนาโมเดล

พ.ศ. 2557- 2561    พัฒนาโครงการงอกนอกกะลา (NNK) โดยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาโรงเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดน่านให้เป็นโรงเรียน

                               ต้นแบบ (Model School) จนสามารถขยายผลและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนที่สนใจ  

พ.ศ. 2558-2560     พัฒนาโครงการ การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบจิตศึกษา (BKIND) โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิกองทุนรวมคนไทยใจดี พัฒนาโรงเรียนในจังหวัด

                               นครราชสีมา จังหวัดหนองคาย และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา สนับสนุนโดยกองทุน BKIND

พ.ศ. 2558-2562      พัฒนาโครงการโรงเรียนแห่งต้นแบบศตวรรษที่ 21 จ.ระยอง นนทบุรี ขอนแก่น และนครสวรรค์ จำนวน 8 รร. โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ปตท.

พ.ศ. 2559               บุคคลเกียรติยศ มูลนิธิโกมลคีมทองประจำปี 2559 ด้านการศึกษา ครั้งที่ 42

พ.ศ. 2560               ได้รับรางวัลนวัตกรรมการพัฒนารูปแบบการขยายผล โรงเรียนต้นแบบจิตศึกษา ปี  2559-2560 จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

พ.ศ. 2560               ได้รับรางวัล Inspiration Innovation ด้านการศึกษา จาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)

พ.ศ. 2559 - 2561    พัฒนาโครงการ “โครงการโรงเรียนประชารัฐ โดย ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน)  Module  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน   พัฒนาโครงการโครงการ “การพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2562”  Module โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน   พัฒนาโครงการ “การขยายผลโรงเรียนสุขภาวะโดยการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนเชิงระบบด้วยนวัตกรรม จิตศึกษา PBL และ PLC” สนับสนุนโดยสำนักงาน

                               กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

พ.ศ. 2562-2563      พัฒนาโครงการ “การพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อพัฒนาครูโค้ช”  สนับสนุนโดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์

พ.ศ. 2562 - 2563    โครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องโดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ) รุ่นที่ 1

                               จำนวน 76 โรงเรียน

พ.ศ. 2563–2564     โครงการโรงเรียนเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC  รุ่นที่ 1จำนวน 10 โรงเรียน  สนับสนุนโดยมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่ง

                               ประเทศไทย

พ.ศ. 2563-2564     โครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องโดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ) รุ่นที่ 1 

                               ต่อเนื่อง ปีที่ 2 จำนวน 76 โรงเรียน  และ รุ่นที่ 2 จำนวน 50 โรงเรียน

พ.ศ. 2564–ปัจจุบัน  โครงการโรงเรียนเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC รุ่นที่ 1 จำนวน 4 โรงเรียน และ รุ่นที่ 2 จำนวน 10 โรงเรียน สนับสนุนโดย

                                มูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน  โครงการสนับสนุนการโรงเรียนพัฒนาตนเอง โดยการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ) รุ่นที่ 1 ต่อเนื่องในปี 2564 

                                จำนวน 76 โรงเรียน  และ รุ่นที่ 2  ต่อเนื่องในปี 2564 จำนวน 50 โรงเรียน