แผนการจัดกิจกรรมจิตศึกษา

ชื่อหนังสือ แผนการจัดกิจกรรมจิตศึกษา

ผู้เรียบเรียง  นางสาวพรรณทิพย์พา  ทองมี

จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

พิมพ์ปี 2566

จิตศึกษา  เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาปัญญาภายใน

เริ่มจากการฝึกฝนการรู้ตัว  การระลึกรู้ในกาย  รู้ความรู้สึกทางกาย  รู้ความรู้สึกทางใจ  และรู้ความคิดของตนเอง  เพื่อนำสู่การใคร่ครวญให้ตระหนักในตน  เคารพคุณค่าตนเอง  คนอื่น  และสิ่งอื่น  เห็นการเชื่อมสรรพสิ่งอย่างเป็นหนึ่งเดียวกัน  (Oneness)  และสามารถสร้างทางเลือกและตัดสินใจเลือกได้อย่างมีจริยธรรม  มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล  ซึ่งต้องจัดการ  3  กระบวนทัศน์ให้สอดประสานกัน

1.  การออกแบบจัดการให้องค์กรเป็นชุมชนสนามพลังบวก  มีวิถี-วัฒนธรรมแบบใหม่ที่มีเหตุผล   จัดการสภาพแวดล้อมให้สะอาด  สงบ  ร่มรื่น  และปลอดภัย  ทั้งปลอดภัยทางกาย  (การเฝ้าระวังอาหารจำพวกน้ำตาล  โซเดียม  ไขมันทรานซ์)  ความปลอดภัยทางใจ  (การออกแบบเพื่อเฝ้าระวัง  และ ลด Bully)   ความปลอดภัยทางจิตวิญญาณ  (ระวังการครอบงำความคิดความเชื่อโดยปราศจากเหตุผล) 

2.  การใช้จิตวิทยาเชิงบวก  ลดการตัดสิน  การเปรียบเทียบ  การใช้คำพูดด้านลบ  การทำโทษ  และสร้างข้อตกลงร่วมในการปฏิบัติต่อกันอย่างเคารพในคุณค่าความเป็นมนุษย์

3.  การจัดกิจกรรมจิตศึกษาสม่ำเสมอเพื่อฝึกฝนการตัดสินใจ